“วันจักรยานโลก”

ประเภท : ข่าวประชาสัมพันธ์

สำหรับประเทศไทย “วันจักรยานโลก” อาจจะถือเป็นสิ่งใหม่ ไม่คุ้นเคยนัก ขณะที่ในระดับสากลนั้น การประกาศขององค์การสหประชาชาติให้วันที่ 3 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันจักรยานโลก หรือ Bicycle Day นั้นถือว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง

เหตุผลที่ควรตื่นเต้นกับเรื่องนี้ ก็เพราะว่า ก่อนที่จะมีมติจากการประชุมครังที่ 72 ของสมัชชาแห่งสหประชาชาติที่นิวยอร์กนั้น สมาชิกสมัชชาได้ผ่านการประชุม นำเสนอ ถกเถียงกันมานับเป็นเวลานานหลายปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา ถึงความสำคัญของการ “ใช้จักรยาน” ที่ควรถูกผลักดันให้เป็นวาระระดับโลก

มีขั้นตอนการร่างมติ และรอการสนับสนุนถึง 193 รัฐสมาชิก จาก 56 ประเทศ เพื่อให้สภาประกาศใช้มติดังกล่าว โดยได้รับความเห็นร่วมจากองค์กรใหญ่ระดับโลก ได้แก่ สหพันธ์จักรยานโลก (WCA) , European Cyclists ‘Federation (ECF) ซึ่งหนุนให้สหประชาชาติกำหนดวันจักรยานมาโดยตลอด

ในวันที่ 12 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา นับเป็นความสำเร็จของการรณรงค์ เมื่อองค์การสหประชาชาติประกาศอย่างเป็นทางการที่จะเชิญประเทศสมาชิกทั้งหมด รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศด้านกีฬา ด้านประชาสังคม ภาคอุตสาหกรรม และอื่นๆ ให้ร่วมกันเฉลิมฉลองถึง “วันส่งเสริมความตระหนักในการใช้จักรยาน” ซึ่งคือหัวใจสำคัญของวันจักรยานโลกนี้

นัยยะที่สำคัญของการเฉลิมฉลองนี้ หมายความว่า ทุกประเทศสมาชิก จะร่วมกันกำหนดนโยบายประเทศให้สอดคล้องกับเป้าหมายหลักของวันจักรยาน ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญใหญ่ๆ อยู่ 5 หัวข้อด้วยกัน ได้แก่

1. สนับสนุนให้ประเทศสมาชิก กำหนดกลยุทธ์การพัฒนา ให้ความสำคัญกับจักรยานเป็นพิเศษ ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค
2. ส่งเสริมให้ประเทศสมาชิก ปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน การจราจร พื้นที่สัญจรของผู้ใช้จักรยานให้ปลอดภัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
3. สนับสนุนให้ประเทศสมาชิก วางแผน ออกแบบ โครงสร้างพื้นฐาน ในการย้าย ขนส่ง อยางยั่งยืน สำหรับจักรยานและคนเดินเท้าอย่างจริงจัง โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ด้านสุขภาพที่กว้างขึ้น
4. ประเทศสมาชิก ส่งเสริมให้เพิ่มการใช้จักรยานในประเทศ เพื่อช่วยพัฒนาด้านสุขภาพ สร้างความเข้มแข็ง การเข้าถึงข้อมูล แก่ประชากร รวมถึงเด็กและเยาวชนมากขึ้น
5. ส่งเสริมให้สมาชิกยอมรับแนวทางที่ดีที่สุด ในการส่งเสริมกลุ่มผู้ใช้จักรยาน และพัฒนาเป็นวัฒนธรรมการปั่นในสังคมให้มากขึ้น

ผลกระทบสำคัญของการใช้จักรยานในโลก
จากคำปราศัยของ ดร.เลสเช็ค เจ สิบิลสกี้ ซึ่งกล่าวต่อที่ประชุมองค์การสหประชาชาติว่า การใช้จักรยานจะสร้างผลกระทบที่มากมายอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งเป็นที่มาของคำเรียกจักรยานอีกชื่อว่า “เครื่องจักรอิสรภาพ” ซึ่งหมายถึงจักรยานได้ปลดปล่อยให้ผู้หญิง เด็ก ผู้ด้อยโอกาส ได้มีอิสระภาพส่วนตัวมากขึ้นในการออกไปขี่จักรยานบนถนน

ดร.เลสเช็ค ให้ความเห็นว่า จักรยานเป็นอุปกรณ์สองล้อที่เรียบง่าย แต่ให้มนุษย์พึ่งพามากว่าสองศตวรรษ สิ่งง่ายๆ นี้ดีต่อสิ่งแวดล้อมในการขนส่ง ดีต่อสภาพแวดล้อม ดีต่อสุขภาพ ให้ผู้ใช้เกิดความสร้างสรรค์ เกิดการเข้าร่วมทางสังคม ทำให้คนขี่ตระหนักถึงสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น จักรยานคันหนึ่งจึงมีความหมายไม่ใช่แค่การขนส่ง แต่เป็นการจ้างงาน และเข้าถึงการศึกษาและดูแลสุขภาพด้วย

การขี่จักรยาน 1 กิโลเมตร ช่วยลดการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ได้ถึง 250 กรัม ต่อ 1 กิโลเมตร ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ ราว 2 gigatonnes (หน่วยวัดคาร์บอน) ตันต่อปี ลดมลพิษทางอากาศ ลดมลพิษทางเสียง ประหยัดเชื้อเพลง ให้ประโยชน์ดีต่อสุขภาพจิต สร้างเวลาคุณภาพ สร้างสวัสดิการที่ดีกับเด็กและพื้นที่ปลอดภัยสาธารณะ ให้ความเท่าเทียมกันทางสังคม ให้ความคล่องตัวในการเคลื่อนที่ ประหยัดการบำรุงรักษาพื้นฐานถนน และยังเชื่อมโยงคนให้มาหากันอย่างยืดหยุ่นและแข็งแรง

จักรยานจึงเป็นความหวังในการดูแลรักษาโลก ขับเคลื่อนมนุษยชาติ จากความทุกข์ ความยากจน ไปสู่ความรุ่งเรืองและสันติภาพได้ด้วย

ที่มา ที่มา :

https://cyclofemme.com

http://www.lovetoride.net/usa

http://www.bikeleague.org/

http://bikeweek.org.uk/events

http://www.worldurbancampaign.org

คลิก ดูรูปภาพ!
ไม่มีข้อมูลไฟล์